จองตั๋วรถไฟ จองตั๋วรถไฟออนไลน์
จองตั๋วรถไฟ บริการจองตั๋วรถไฟออนไลน์
ของการรถไฟแห่งประเทศไทย
(สำหรับสั่งซื้อออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ 12Go เท่านั้น ไม่มีบริการสั่งซื้อกับเจ้าหน้าที่ผ่านทางโทรศัพท์)
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ สายด่วนการรถไฟไทย เบอร์ 1690
Powered by 12Go system
เส้นทางการเดินรถไฟ
การรถไฟแห่งประเทศไทยแบ่งเส้นทางการเดินรถไฟออกเป็น 5 เส้นทางหลักครอบคลุมทั่วประเทศ ดังต่อไปนี้
- สายใต้
เมื่อแรกสร้างมีจุดเริ่มต้นที่สถานีธนบุรี จนถึงในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้สร้างทางแยกที่สถานีชุมทางบางซื่อ ข้ามแม่น้ำ เจ้าพระยาที่สะพานพระรามหก ไปบรรจบกับทางรถไฟสายใต้ที่สถานีชุมทางตลิ่งชัน ทางสายนี้ผ่านนครปฐม, ราชบุรี, เพชรบุรี, ประจวบคีรีขันธ์, ชุมพร, สุราษฎร์ธานี, นครศรีธรรมราช, พัทลุง, สงขลา, ยะลา สุดปลายทางที่สุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาส ทางรถไฟ สายใต้นี้มีทางแยกออกไปอีกหลายสายเริ่มจาก ที่สถานีชุมทางหนองปลาดุก(กม. 80) มีทางแยกไป สุพรรณบุรี (กม. 157) และน้ำตก จังหวัดกาญจนบุรี (กม.210) ที่สถานีชุมทางบ้านทุ่งโพธิ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีทางแยกไปสุดทางที่ คีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี (กม. 678) ที่สถานีชุมทางทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราชมีทางแยกไปสุดปลายทางที่กันตัง จังหวัดตรัง(กม.866) ที่สถานีชุมทาง- เขาชุมทองมีทางแยกไปสุดปลายทางที่นครศรีธรรมราช (กม. 832) และที่สถานีชุมทางหาดใหญ่ (กม. 945) มีทางแยกไปบรรจบกับทางรถไฟของประเทศมาเลเซียที่ สถานีปาดังเบซาร์ (กม. 990)
- สายเหนือ
แยกออกจากทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ ที่สถานีชุมทางบ้านภาชี ผ่านลพบุรี , นครสวรรค์ , พิจิตร , พิษณุโลก , อุตรดิตถ์, เด่นชัย(จังหวัดแพร่), ลำปาง, ลำพูน สุดปลายทางที่สถานีเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่(กม.751) และที่สถานีชุมทางบ้านดารา มีทางแยกไปสุดปลายที่สถานีสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย (กม.457)
- สายตะวันออก
เริ่มจากสถานีกรุงเทพ ผ่านฉะเชิงเทรา,ปราจีนบุรี สุดปลายทางที่อรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว (กม. 255) ทางช่วงนี้ ที่สถานีชุมทางคลองสิบเก้า(กม. 85) มีทางแยกไปบรรจบทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือที่สถานีชุมทางแก่งคอย(กม.168) ที่สถานีชุมทางฉะเชิงเทรา(กม.61 ) มีทางแยกไปท่าเรือน้ำลึกสัตหีบ(กม.134) ซึ่งในทางช่วงนี้ ที่สถานีชุมทางศรีราชามีทางแยกไป ท่าเรือ-แหลมฉบัง (กม. 139) และสถานีชุมทางเขาชีจรรย์ มีทางแยกไปยังนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด
- สายตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน)
เริ่มจากสถานีกรุงเทพมุ่งไปทางทิศเหนือ ผ่านอยุธยา, สระบุรี, นครราชสีมา บุรีรัมย์, สุรินทร์, ศรีสะเกษ และสุด ปลายทางที่อุบลราชธานี (กม.575) ที่ชุมทางถนนจิระในจังหวัดนครราชสีมา มีทางแยกไปจังหวัดขอนแก่น อุดรธานี สุดปลายทาง ที่หนองคาย(กม.624) และที่สถานีแก่งคอย จังหวัดสระบุรีมีทางแยกผ่านลำนารายณ์ จังหวัดลพบุรี, จัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ(กม.346)
- สายแม่กลอง
เส้นทางนี้ไม่ได้เริ่มต้นที่สถานีกรุงเทพฯ โดยเริ่มต้นที่สถานีวงเวียนใหญ่ ไปสุดปลายทางที่มหาชัย จังหวัดสมุทรสาคร ระยะทาง 33 กม. ช่วงหนึ่ง และเริ่มต้นที่สถานีบ้านแหลม จังหวัดสมุทรสาคร ไปสุดปลายทางที่สถานีแม่กลอง จังหวัดสมุทรสงคราม ระยะทาง 31 กม. อีกช่วงหนึ่ง
» ข้อมูลจาก การรถไฟแห่งประเทศไทย
ประเภทขบวนรถโดยสาร
รถไฟของการรถไฟไทย ที่เปิดให้บริการอยู่ในปัจจุบันนี้ แบ่งออกตามการใช้งาน ได้ 8 ประเภท ดังต่อไปนี้
- 1. ขบวนรถด่วนพิเศษ (Apecial Express)
เป็นขบวนรถที่จัดเดินระยะทางไกล หยุดสถานีสำคัญๆ เท่านั้น ปัจจุบันมี 11 ขบวน
- 2. ขบวนรถด่วน (Express)
เป็นขบวนรถที่จัดเดินทางระยะไกล หยุดสถานีที่สำคัญๆ เท่านั้น แต่มีการให้บริการของชนิดรถพ่วงมากกว่าขบวนพิเศษ ปัจจุบันมีบริการจำนวน 9 ขบวน
- 3. ขบวนรถเร็ว (Rapid)
เป็นขบวนรถที่จัดเดินระยะทางไกล แต่หยุดรับ – ส่ง ผู้โดยสารมากกว่าขบวนรถด่วน ปัจจุบันมี 18 ขบวน
- 4. ขบวนรถธรรมดา (Ordinary)
เป็นขบวนรถที่จัดเดินทางเพื่อให้บริการแก่ผู้โดยสารเดินทางไปยังส่วนภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ หยุดทุกๆ สถานี ปัจจุบันมีบริการจำนวน 28 ขบวน
- 5.ขบวนรถชานเมือง (bangkok Commuter)
เป็นขบวนรถที่จัดเดินเพื่อให้บริการแก่ผู้โดยสารในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล รัศมีไม่เกิน 150 กิโลเมตร เพื่อใช้เดินทางไปทำงาน ศึกษาเล่าเรียน และติดต่อค้าขายหยุดทุกๆ สถานี และป้ายหยุดรถ
- 6. ขบวนรถท้องถิ่น (Rural Commuter)
เป็นขบวนรถที่จัดเดินเพื่อให้บริการแก่ผู้โดยสารระหว่างจังหวัด หยุดทุกสถานี และป้ายหยุดรถ ขบวนรถที่ให้บริการแบ่งออกเป็น สายเหนือ 4 ขบวน สายใต้ 8 ขบวน สายตะวันออกเฉียงเหนือ 12 ขบวน
- 7. ขบวนรถรวม (Mixed)
เป็นขบวนรถที่จัดเดินเพื่อให้บริการแก่ผู้โดยสารระหว่างจังหวัด หยุดทุกสถานี และป้ายหยุดรถ และมีรถสินค้าพ่วงในขบวนด้วย เพื่อรับ-ส่งสินค้า
- 8. ขบวนรถท่องเที่ยว (Excursion)