วันวิสาขบูชาเป็นวันที่ระลึกถึงวันที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ซึ่งตรงกับวันเพ็ญ เดือนวิสาขมาส
วันวิสาขบูชาเป็นวันที่ระลึกถึงวันที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ซึ่งตรงกับวันเพ็ญ เดือนวิสาขมาส
วันวิสาขบูชา (วิสาขปุณฺณมีปูชา) เป็นวันสำคัญทางศาสนาพุทธสำหรับพุทธศาสนิกชนทุกนิกายและวันสำคัญในระดับนานาชาติ ในวันนี้เกิดเหตุการณ์สำคัญที่สุดในพระพุทธศาสนา 3 เหตุการณ์
ประสูติ
เช้าวันศุกร์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีจอ ก่อนพุทธศักราช 80 ปี เจ้าชายสิทธัตถะ ทรงประสูติที่พระราชอุทยานลุมพินีวัน ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์กับเทวทหะ
ตรัสรู้
เช้ามืดวันพุธ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีระกา ก่อนพุทธศักราช 45 ปี เจ้าชายสิทธัตถะ ทรงตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อมีพระชนมายุได้ 35 พรรษา ณ ใต้ร่มไม้ศรีมหาโพธิ์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา สถานที่แห่งนี้เรียกว่า พุทธคยา เป็นตำบลหนึ่งของเมืองคยา แห่งรัฐพิหาร ประเทศอินเดีย
ปรินิพพาน
ภายหลังจากการตรัสรู้ องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงออกประกาศพระธรรมวินัย และโปรดเวไนยสัตว์เป็นเวลา 45 ปี เมื่อมีพระชนมายุได้ 80 พรรษา พระองค์ก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน เมื่อวันอังคาร ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีมะเส็งในเมืองกุสีนคระ รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย
และเนื่องจากเหตุการณ์สำคัญทั้ง 3 เหตุการณ์ เกิดขึ้นตรงกันในวันเพ็ญเดือน 6 จึงเรียกการบูชาในวันนี้ว่า วันวิสาขบูชา ซึ่งหมายถึง การบูชาในวันเพ็ญเดือน 6 บางแห่งอาจเรียกว่า วันพระพุทธเจ้า หรือ พุทธชยันตี
ชมพระอาทิตย์โผล่พ้นขอบฟ้ายามเช้า ณ อุทยานแห่งชาติผาแต้ม แวะชมความงามของสถานที่ท่องเที่ยวธรรมชาติรังสรรค์ อาทิ สามพันโบก หาดหงส์ แก่งตะนะ แวะสักการะพระพุทธรูปคู่บ้านเมืองวัดทุ่งศรีเมือง ชุ่มฉ่ำกับน้ำตกกลางวัด ณ วัดถ้ำเหวสินธุ์ชัย ชมต้นกัลปพฤกษ์เรืองแสง แรงบันดาลใจจากภาพยนตร์เรื่องอวตาร ณ วัดสิรินธรวรารามภูพร้าว ให้ท่านพักโรงแรมบรรยากาศโรแมนติคริมโขงในคืนแรก และนอนเต็นท์กระโจมชิลๆ ริมเขื่อนในคืนที่สอง
สัมผัสดินแดนอีสานแบบใกล้ชิด นอนเต็นท์ติดริมโขง ตื่นเช้าชมพระอาทิตย์ขึ้น แลวิวประเทศเพื่อนบ้านผ่านสายหมอก สักการะพระพุทธรูปคู่บ้านเมืองอุดร เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ประจำจังหวัด ถ่ายรูปเป็นที่ระลึกคู่กับอาคารทรงโคโลเนียลสีเหลือง ชมความงามตระการตาของพระวิหารวัดป่าภูก้อน ใกล้ชิดกับทะเลหมอกยิ่งขึ้นกับทางเดินสกายวอล์ค ณ วัดผาตากเสื้อ พลาดไม่ได้กับหินสามวาฬ และปิดท้ายทริปด้วยการไต่สะพานไม้รอบหินผาเจ็ดชั้นขึ้นไปยังยอดภูทอก